สุขสันต์วันวาเลนไทน์

my pic

วันศุกร์, พฤศจิกายน 02, 2550

วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา


รหัสวิชา GD 6107 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา
(Innovation and Information Technology in Education)
3(2-2-5)
แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริม คุณภาพการเรียนรู้ ระบบการเรียนรู้และกระบวนการสื่อความหมาย การแสวงหา เลือก ใช้ เก็บรักษาและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการออกแบบ สร้าง ใช้ ประเมินและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น

วิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้


รหัสวิชา EDUC104 นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้(Learning Innovation) 5(2–4-3)
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ ศึกษาและวิเคราะห์ระบบการเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้ และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ศึกษาวิเคราะห์บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและประสิทธิภาพการจัดการ

เรียนรู้ รวบรวมข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายการเรียนรู้
ปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการเรียนรู้ที่หลากหลาย ฝึกปฏิบัติการออกแบบ สร้าง ทดลองใช้ ประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน

วิชาเทคโนโลยีการศึกษา

รหัสวิชา 1032101 เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) 3(2 - 2)
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธี ระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียน การสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน
ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียน

วันเสาร์, กันยายน 22, 2550

เทคโนโลยีและนวัตกรรม


"เทคโนโลยี" หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความ คิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้งานสาขาต่างๆ เช่น
- เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
- เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
- เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
- เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology)
- เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
- เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
- เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
- เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
- เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)


"นวัตกรรม" หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น การสอนแบบโปรแกรม (Program Instruction), ศูนย์การเรียน (Learning Center), ชุดการสอน (Instructional Package), การสอบแบบจุลภาค (Micro Teaching), เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine), บลอก (Blog) เป็นต้น


ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป
กระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน

ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม

1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปปฏิบัติจริง (Innovation)

นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอ ทั้งเนื่องจากบทบาท และความหมายคล้ายคลึงกัน มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียวกันดังแผนภูมิต่อไปนี้

นวัตกรรม (Innovation)
เป้าหมายที่แน่นอน

เทคโนโลยี
(Technology)

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที


อ้างอิง : วิวรรธน์ จันทรเทพย์. เอกสารประกอบการสอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี, 2542.

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

เทคโนโลยีสารสนเทศ : เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์
การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความหมายที่กว้างขวางมาก เราจะพบกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก เช่นการเก็บรวบรวมข้อมูล,
การประมวลผล, การแสดงผลลัพธ์, การทำสำเนา, การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่นับวันจะทันสมัยมากขึ้น
สลับซับซ้อนขึ้นแต่ก็สะดวกสบายขึ้นเช่นกัน

ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย ทำให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวก
มากขึ้นจะใช้บริการที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ก็สามารถทำได้หลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ


ผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมและกระจายโอกาสให้กับทุกคน
3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาการศึกษา
4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้ิองกันประเทศ
6. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน

อินเทอร์เน็ต

ความหมายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

คำเกี่ยวข้องที่ควรทราบ
Cyberspace เป็นคำที่ William Gibson นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บัญญัติ เพื่อใช้ในเรื่องที่แต่ง ปัจจุบันหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่าย ที่แยกกัน แต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แม้จะใช้กฎเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ที่แตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น Internet เป็นเพียงเครือข่ายหนึ่งของ Cyberspace เท่านั้น
Information Superhighway หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ในการรับส่งข้อมูลดิจิทอล ที่มีความเร็วสูง เชื่อถือได้ มีความปลอดภัย Internet เป็นเพียงต้นแบบหนึ่งของ I-Way นี้เช่นกัน

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
1. ด้านการศึกษา
สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
2. ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
3. ด้านการบันเทิง
การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
- การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว
- แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

พัฒนาการของ Internet
ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่

- มหาวิทยาลัยยูทาห์
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
- สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว

งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้
จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยโมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC สายโทรศัพท์ทองแดง โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP
เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ"
หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย"

โทษของอินเทอร์เน็ต
โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
- อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- เติบโตเร็วเกินไป
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
- ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
- ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้

โรคติดอินเทอร์เน็ต
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ
- ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้เป็นอินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย

ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป


บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

บัญญัติ 10 ประการด้านความปลอดภัยของเครือข่าย
1. ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การเดา
2. เปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ เช่น ทุก 90 วัน
3. รันและปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
4. ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์ หรือดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
เช่น อีเมล์, เว็บไซต์
5. ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายอย่างสมบูรณ์
6. ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครือข่ายสม่ำเสมอ
7. ลบรหัสผ่าน และบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
8. วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบของพนักงานจากภายนอกหน่วยงาน
9. ปรับปรุง (Upgrade) ซอฟต์แวร์สม่ำเสมอ
10.ไม่รันเซอร์วิสบางตัวบนเครือข่าย อย่างไม่จำเป็น

ข้อมูล จาก www.nectec.or.th


ให้ไปค้นคำต่อไปนี้มาโดยละเอียด
1. IP Address หรือ IP network number
2. Domain Name ใน Internet
3. รูปแบบชื่อโดเมน
4. ตารางแสดง Top Level Domain
5. เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Domain Name
6. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or e-Mail)
รูปแบบของ e-Mail Address
7. บริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย ด้วย ftp
8. บริการใช้เครื่องข้ามเครือข่าย ด้วยโปรแกรม telnet
9. บริการค้นข้อมูลข้ามเครือข่าย หรือ Electronic Library หรือห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
10.บริการค้นข้อมูล World Wide Web
11.บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat
12.กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS)
13.แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
14.Emoticon สัญลักษณ์ที่คิดค้นเพื่อให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Chat
กระทำได้ง่ายและสะดวก
15.บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
16.Cybersquatter
17.หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
18.ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
19.การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ
20.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
21.Ethernet
22.Leased Line
23.Frame Relay
24.การสื่อสารแบบ Connection Oriented
25.การสื่อสารแบบ Connectionless


http://www.nectec.or.th/courseware/
http://www.thaicyberu.go.th/

วันจันทร์, กันยายน 17, 2550

การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล

1. Search Engine เป็นการเรียกเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่มาจากวิธีการค้นหาข้อมูล 2 ลักษณะ
1.1 Crawler - Based Search Engine เรียกสั้นๆว่า Search Engine จะค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมที่ทำงานโดยอัตโนมัติที่เรียกว่า Robot หรือ Crawler หรือ Spider แล้วรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์มาเก็บรวบรวมไว้
เช่น
http://www.google.com/ http://search.com/ http://webcrawler.com/

1.2 Human - Powered Directories เรียกสั้นๆว่า Web Directory เป็นเว็บที่รวบรวมเว็บไซต์ต่างๆไว้เป็นหมวดหมู่ ข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่เป็นปัจจุบันนักเพราะทำโดยคน
เช่น
http://yahoo.com/ http://looksmart.com/ http://sanook.com/ http://einet.com/

1.3 Hybrid Search Engines เป็นการนำเอาคุณลักษณะของเทคโนโลยี Crawler - Based และ Human - Based มาใช้ร่วมกัน จะได้ทั้งข้อมูลที่จัดอันดับแล้ว และข้อมูลที่ยังไม่ได้จัดอันดับ
เช่น
http://excite.com/ http://www.thaiindex.com/ http://www.snap.com/ http://www.lycos.com/

2. MetaSearch Engine เป็น Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง แต่จะไปค้นจากฐานข้อมูล Search Engines และเว็บไดเร็คทอรี่อื่นๆ ในเวลาเดียวกันทำให้ข้อมูลที่ได้มีจำนวนมาก
เช่น
http://go2net.com/ http://mama.com/ http://savvysearch.com/ http://oneseek.com/

การเขียนรายการอ้างอิง

แบบที่ 1 ผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง]. เข้าถึงได้จาก : แหล่งข้อมูล / สารนิเทศ. ปี.

แบบที่ 2 ผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง]. เข้าถึงได้จาก : แหล่งข้อมูล / สารนิเทศ.

ผู้แต่ง ให้ใช้แบบแผนเดียวกับผู้แต่งหนังสือ

ชื่อเรื่อง ให้ใช้แบบแผนเดียวกับชื่อเรื่องของหนังสือ หรือบทความแล้วแต่กรณี

ประเภทของสื่อที่เข้าถึง ให้ระบุว่าเป็น [ออนไลน์] [Online] [ซีดีรอม] [CD-ROM] แล้วแต่กรณี

แล้วให้ใส่มหัพภาค

เข้าถึงได้จาก ภาษาอังกฤษใช้ Available

ในกรณีที่ข้อมูล / สารสนเทศเป็นเพียงสาระสังเขป ให้ใช้คำว่า สาระสังเขปจาก :

หรือ Abstract from :

แหล่งข้อมูล / สารนิเทศ หมายถึงแหล่งที่จะได้ข้อมูลมา

ปีที่ใช้ ให้ใช้ตามที่ปรากฏ ถ้าไม่มี ให้ใช้วัน เดือน ปี ที่ผู้ทำรายงานเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ



วันพฤหัสบดี, กันยายน 13, 2550

การเรียนรู้ร่วมกันทางไกล




คนเราแม้จะอยู่ไกลกัน ปัจจุบันก็เสมือนอยู่ใกล้กัน เรามีเทคโนโลยีหลายอย่างที่อำนวยความสะดวก ทำให้ระยะทางมีขีดจำกัดที่น้อยลง เราสามารถที่จะพูดคุยเห็นหน้าตากันได้ถึงแม้ตัวจะอยู่ห่างไกลกันหลายพันหลายหมื่นลี้ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่กระหายความรู้ เราสามารเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา...ทุกโอกาส...ทุกวัย...ทุกระยะทาง...ทุกขณะจิตที่คิดอยากจะเรียน เราอาจมีเพื่อนร่วมเรียนไปพร้อมกับเราหลายสิบ หลายร้อย หลายพันคน โดยที่อาจไม่รู้จักกัน ไม่เห็นหน้าค่าตากันก็ได้......

เทคโนโลยีที่รอเราอยู่...